หัวข้อ   “ แนวคิด การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ประชาชนส่วนใหญ่ 56.3% เห็นด้วยกับแนวคิด “การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ”
ชี้คนใต้เห็นด้วยมากที่สุด ขณะที่คนเหนือและอีสานก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “แนวคิด การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ” โดย
เก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,117 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 56.3 เห็นด้วยกับแนวคิด “การจัดตั้งรัฐบาล
แห่งชาติ” มาสานต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ เพื่อการปฏิรูปและสร้างความ
ปรองดอง เพราะทุกอย่างยังไม่พร้อม ความขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นอีก
หากจัดให้มีการเลือกตั้งในทันที
ขณะที่ร้อยละ 35.5 ไม่เห็นด้วย เพราะ เห็นว่า
เลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ที่เหลือร้อยละ 8.2 ไม่แน่ใจ เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายภูมิภาคทั่วประเทศพบว่า
 
                  ภาคใต้เป็นภาคที่ประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 62.1
ขณะที่ร้อยละ 31.1 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 6.8
ไม่แน่ใจ
 
                 ภาคกลางมีประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
คิดเป็นร้อยละ 60.6
ขณะที่ร้อยละ 26.5 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 12.9 ไม่แน่ใจ
 
                 ภาคตะวันออกมีประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติคิดเป็นร้อยละ 59.8 ขณะที่ร้อยละ 35.5 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 4.7 ไม่แน่ใจ
 
                 กรุงเทพมหานครมีประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติคิดเป็นร้อยละ 55.7 ขณะที่ร้อยละ
36.5 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 7.8 ไม่แน่ใจ
 
                 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติคิดเป็นร้อยละ 53.9 ขณะที่
ร้อยละ 35.7 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 10.4 ไม่แน่ใจ
 
                 ภาคเหนือมีประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติคิดเป็นร้อยละ 53.6 ขณะที่ร้อยละ 40.5
ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 5.9 ไม่แน่ใจ
 
                 ปริมณฑลมีประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.0 ขณะที่ร้อยละ 46.2 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 3.8 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิด “การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ” มาสานต่อรัฐบาล
                   พล.อ. ประยุทธ์ เพื่อการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะ ทุกอย่างยังไม่พร้อม ความขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นอีก
หากจัดให้มีการเลือกตั้งในทันที
56.3
ไม่เห็นด้วย เพราะ เห็นว่าเลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
35.5
ไม่แน่ใจ
8.2
 
                  เมื่อแยกพิจารณาเป็นแต่ละภาค พบว่า


ภาค
เห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
รวม
(ร้อยละ)
ใต้
62.1
31.0
6.8
100.0
กลาง
60.6
26.5
12.9
100.0
ตะวันออก
59.8
35.5
4.7
100.0
กรุงเทพมหานคร
55.7
36.5
7.8
100.0
ตะวันออกเฉียงเหนือ
53.9
35.7
10.4
100.0
เหนือ
53.6
40.5
5.9
100.0
ปริมณฑล
50.0
46.2
3.8
100.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21-23 กรกฎาคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 กรกฎาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
586
52.5
             หญิง
531
47.5
รวม
1,117
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
181
16.2
             31 – 40 ปี
255
22.8
             41 – 50 ปี
290
26.0
             51 – 60 ปี
262
23.5
             61 ปีขึ้นไป
129
11.5
รวม
1,117
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
753
67.4
             ปริญญาตรี
297
26.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
67
6.0
รวม
1,117
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
156
14.0
             ลูกจ้างเอกชน
252
22.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว
467
41.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
59
5.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
1
0.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
131
11.7
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
38
3.4
             เกษตรกร
13
1.2
รวม
1,117
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776